• Welcome to เกมสล็อตสุดฮิต เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด 3 ไพ่นกกระจอกภาค3 เล่นง่าย แตกหนักกว่าเดิม ทดลองเล่นฟรี.
 

กรมอุทยานฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นปชช. จ่อประกาศ อช.เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า เป็นอุทยาน

เริ่มโดย thanin, มิ.ย 17, 2024, 09:07 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

thanin

กรมอุทยานฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นปชช. จ่อประกาศ อช.เจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า เป็นอุทยานแห่งชาติ

กรมอุทยานฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นปชช. จ่อประกาศ อุทยานเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า เป็นอุทยานแห่งชาติ แจ้งเป็นป่าสมบูรณ์ แหล่งต้นน้ำสำคัญ จังหวัดสระบุรี

13 มิ.ย. 67 – นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า อุทยานแห่งชาติเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า จ.สระบุรี จะเปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย Admauto99 ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยาน

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี โดยอุทยานเจ็ดคด – โป่งก้อนเส้า (เตรียมการ) ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ามวกเหล็ก – ป่าทับกวาง แปลงที่ 2 และป่าตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ต.ท่ามะปราง ต.ชำผักแพว ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี และต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 23,277 ไร่ หรือประมาณ 37.24 ตารางกิโลเมตร

เป็นพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้น 1 และ 2 มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญในพื้นที่ จังหวัดสระบุรี มีทรัพยากรสัตว์ป่า สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครองหลากหลายชนิด เช่น เลียงผา เก้งหม้อ ช้างป่า กระทิง เก้ง กวาง เป็นต้น เป็นลักษณะเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ

นายชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานฯเจ็ดคด – โป้งก้อนเส้า เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ป้องกันรักษาพื้นที่ป่าที่เชื่อมต่อกับผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นแหล่งศึกษาวิจัยด้านทรัพยากร เพื่อเป็นสถานที่นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน เข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจจำนวนมาก และสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น สร้างเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์

อย่างไรก็ตาม ตามระเบียบในการกำหนดพื้นที่บริเวณใดเป็นอุทยานแห่งชาติ การขยายอุทยานแห่งชาติ หรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการ